ประวัติโรงเรียน

1.1 ประวัติโรงเรียนมารีพิทักษ์

โรงเรียนมารีพิทักษ์ เป็นโรงเรียนในเครือของสังฆมณฑลนครราชสีมา  ตั้งอยู่เลขที่ 70 ถนนประชาสามัคคี ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110   โทรศัพท์ (044) 631 – 727  โทรสาร (044) 631 – 984 Website: http://www.mpt.ac.th  บนพื้นที่ 7 ไร่ 1 งาน 21 ตารางวา  โรงเรียนมารีพิทักษ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ  ก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา 2521 (ค.ศ. 1978) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2521  โดยบาทหลวงหลุยส์ นิโคลาส พระสงฆ์มิชชันนารี ชาวฝรั่งเศส (MEP) เปิดบ้านรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ประกอบด้วย เรือนไม้ จำนวน 1 หลัง ที่พักและโรงครัว จำนวน 1 หลังและบ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หลัง ชั้นล่างเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีเด็ก จำนวน 6 คน และพนักงาน จำนวน 2 คน

      ปีการศึกษา 2526 (ค.ศ. 1983) ซิสเตอร์โยเซฟานิตยา  ใจสุขและซิสเตอร์บุปผา  ศรีสุระ ซิสเตอร์คณะข้าบริการพระแม่มารีย์ หรือคณะรักกางเขนแห่งสังฆมณฑลอุบลราชธานี เข้ามาช่วยดำเนินงาน

      ปีการศึกษา 2527 (ค.ศ. 1984) บาทหลวงอรุณ  ธรรมธาดา ขออนุญาตเปิดเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนอย่างเป็นทางการ แทนบาทหลวงหลุยส์ นิโคลาส โดยมีพระสังฆราชพเยาว์  มณีทรัพย์ มุขนายกสังฆมณฑลนครราชสีมา เป็นผู้รับใบอนุญาต ตามใบอนุญาตเลขที่ 2/2527

     ปีการศึกษา 2530 (ค.ศ. 1987) บาทหลวงบุญชอบ  พงศ์ศิริพัฒน์ ยื่นขออนุญาตสร้างอาคารเรียน

     ปีการศึกษา 2531 (ค.ศ. 1988) บาทหลวงบุญชอบ  พงศ์ศิริพัฒน์ มีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม จำนวน 3 งาน และดำเนินการขออนุญาตสร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้น เป็นที่พักพระสงฆ์และสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการยื่นเรื่องขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ได้รับใบอนุญาตเลขที่ บร.001/2531  เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2531 เปิดโรงเรียนอนุบาลชื่อโรงเรียนมารีพิทักษ์
ตั้งอยู่เลขที่ 88/3 หมู่ 2 ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
เปิดสอนวิชาสามัญตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ รับนักเรียนชาย – หญิง ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 – 3 แบ่งการเรียนรู้ เป็น 2 ภาคเรียน คือ
ภาคต้น             ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม จนถึง วันที่ 10 ตุลาคม
ภาคปลาย           ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน จนถึง วันที่ 31 มีนาคม
โดยมีนางละมัย  โพยประโคน เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ มีนักเรียน จำนวน 70 คน
     ปีการศึกษา 2533 (ค.ศ. 1990) มีการต่อเติมอาคารคอนกรีต 2 ชั้น มีห้องเรียน จำนวน 2 ห้อง นักเรียนจำนวน 158 คน ประกอบด้วย
ระดับปฐมวัยปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง
ระดับปฐมวัยปีที่ 2 จำนวน 2 ห้อง และ
ระดับปฐมวัยปีที่ 3 จำนวน 1 ห้อง ต่อมามีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม จำนวน 1 ไร่ 20 งาน พร้อมกับบ้าน จำนวน 1 หลัง โดยได้รับความช่วยเหลือจากโรงเรียนมารีย์วิทยา จังหวัดนครราชสีมา
ซิสเตอร์คณะข้าบริการพระแม่มารีย์แห่งสังฆมณฑลอุบลราชธานี มาช่วยดำเนินงาน จำนวน 2 ท่าน มีจำนวนครู 3 คน พี่เลี้ยง จำนวน 3 คน มีบาทหลวงอรุณ  ธรรมธาดา เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

      ปีการศึกษา 2537 (ค.ศ. 1994) บาทหลวงสมเดช  พันธ์สมบัติ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน ขออนุญาตต่อเติมอาคารเรียนหลังเดิมเป็น 2 ชั้น จำนวน 6 ห้องเรียน มีนักเรียน จำนวน 350 คน ครู จำนวน 9 คน และพี่เลี้ยง จำนวน 2 คน

      ปีการศึกษา 2538 (ค.ศ. 1995) มีการติดต่อภคินีคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี มาช่วยดำเนินงานโรงเรียน โดยมีซิสเตอร์กัลยา ยุติธรรม ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ บาทหลวงอรุณ  ธรรมธาดาเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

      ปีการศึกษา 2539 (ค.ศ. 1996) ซิสเตอร์บุญชอบ  หัวใจ ภคินีคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ บาทหลวงอรุณ  ธรรมธาดา เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีการขออนุญาตต่อเติมอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น เพิ่มเติม 4 ห้องเรียน

      ปีการศึกษา 2540 (ค.ศ. 1997) บาทหลวงวิโรจน์  สมหมาย เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบและได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างอาคารเรียน จำนวน 1 หลัง ชั้นเดียว มีห้องเรียน จำนวน 14 ห้องเรียน มีนักเรียน จำนวน 488 คน ครู จำนวน 18 คน

      ปีการศึกษา 2541 (ค.ศ. 1998)  มีการสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น 18 ห้องเรียน ซิสเตอร์วันทา  สิทธิพล ภคินีคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ มีนักเรียน จำนวน 676 คน ครู จำนวน 16 คน และครูพี่เลี้ยง จำนวน 2 คน

       ปีการศึกษา 2542 (ค.ศ. 1999) มีการดำเนินการขอใบอนุญาตเลขที่ 004/2542 ใช้อาคารเรียนหลังใหม่ ชื่ออาคารหลุยส์ นิโคลาส ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน โดยใช้เป็นอาคารเรียนระดับประถมศึกษา  ประกอบด้วยห้องพักครู จำนวน 1 ห้อง ห้องพักรับรอง จำนวน 1 ห้อง ห้องสมุด จำนวน 1 ห้อง ห้องเรียน จำนวน 12 ห้อง ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ห้อง ห้องวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง และอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ซึ่งประกอบด้วย บ้านพักผู้อำนวยการ ห้องสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ จำนวน 1 ห้อง ห้องครูใหญ่ จำนวน 1 ห้อง ห้องธุรการ-การเงิน จำนวน 1 ห้อง ห้องพยาบาล จำนวน 1 ห้องและห้องเรียน 13 ห้อง มีนักเรียนจำนวน 674 คน เป็นเด็กระดับปฐมวัย จำนวน 354 คน จำนวน 10 ห้องเรียน เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 320 คน มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน มีครู จำนวน 28 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 2 คน

      ปีการศึกษา 2543 (ค.ศ. 2000) บาทหลวงประเวช  เตชะพิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์วันทา สิทธิพล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีการปรับปรุงรื้อถอนอาคารเรียน เพื่อนำไปสร้างเป็นบ้านพักครู ปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน ปรับปรุงหอประชุม โรงอาหาร มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน มีนักเรียน จำวน 806 คน แบ่งเป็น เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 436 คน นักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 370 คน ครู จำนวน 32 คน

       ปีการศึกษา 2544 (ค.ศ. 2001) บาทหลวงประเวช เตชะพิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์วันทา  สิทธิพล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้มีการปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอาคารสถานที่บรรยากาศต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 984 คน มีเด็กระดับปฐมวัย จำนวน 523 คน มีห้องเรียน จำนวน 12 ห้องเรียน นักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 461 คน มีห้องเรียน จำนวน 13 ห้องเรียน  มีครู จำนวน 37 คน

       ปีการศึกษา 2545 (ค.ศ. 2002) บาทหลวงประเวช  เตชะพิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์วันทา สิทธิพล  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีนักเรียน จำนวน 1,046 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 511 คน มีห้องเรียน จำนวน 11  ห้องเรียน และนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 535 คน มีห้องเรียน จำนวน 17 ห้องเรียน และมีครู จำนวน 40 คน

       ปีการศึกษา 2546 (ค.ศ. 2003) บาทหลวงประเวช เตชะพิทักษ์ธรรม ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์วันทา  สิทธิพล ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีนักเรียน จำนวน 1,085 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 439 คน มีห้องเรียน จำนวน 10 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 646 คน มีห้องเรียน จำนวน 14 ห้องเรียน และมีครู จำนวน 41 คน

       ปีการศึกษา 2547 (ค.ศ. 2004) บาทหลวงเฉลียว วาปีกัง ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์รุ่งทิพย์ พัฒนภิรมย์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีนักเรียน จำนวน 1,055 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 375 คน  มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 680 คน มีห้องเรียน จำนวน 15 ห้องเรียน  และมีครู จำนวน 45 คน

       ปีการศึกษา 2548 (ค.ศ. 2005) บาทหลวงเฉลียว วาปีกัง ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์รุ่งทิพย์  พัฒนภิรมย์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีนักเรียน จำนวน 1,055 คน นักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 346 คน มีห้องเรียน จำนวน 9 ห้องเรียน และมีจำนวนนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 709 คน มีห้องเรียน จำนวน 16 ห้องเรียน และมีครู จำนวน 45 คน

       ปีการศึกษา 2549 (ค.ศ. 2006) บาทหลวงเฉลียว  วาปีกัง  ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีนักเรียน จำนวน  1,077 คน นักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 336 คน ห้องเรียน จำนวน 9 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 741 คน มีห้องเรียน จำนวน 16 ห้องเรียน และมีครู จำนวน 43 คน

       ปีการศึกษา 2550 (ค.ศ. 2007) บาทหลวงเฉลียว วาปีกัง ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม ปิ่นสุวรรณ  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ มีนักเรียน จำนวน 1,105 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 320 คน มีห้องเรียน จำนวน 9 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 785 คน มีห้องเรียน จำนวน 18 ห้องเรียน และมีครู จำนวน 45 คน

       ปีการศึกษา 2551 (ค.ศ. 2008) บาทหลวงเฉลียว วาปีกัง ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 1,119 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 310 คน มีห้องเรียน จำนวน 9 ห้องเรียน มีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 808 คน มีห้องเรียนจำนวน 18 ห้องเรียน มีครู จำนวน 49 คน และมีครูพี่เลี้ยง จำนวน 6 คน

ปีการศึกษา 2552 (ค.ศ. 2009) บาทหลวงเฉลียว  วาปีกัง  ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ โรงเรียน ได้ทำพิธีเปิดและเสกอาคาร “มารีอา” และซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 1,088 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 313 คน มีห้องเรียน จำนวน 9 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถม จำนวน 775 คน มีห้องเรียน จำนวน 18 ห้องเรียน มีครู จำนวน 49 คน และครูพี่เลี้ยง จำนวน 6 คน

       ปีการศึกษา 2553 (ค.ศ. 2010) บาทหลวงพัฒนะชัย  อินทิรถ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 1,136 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 350 คน จำนวนห้องเรียน 10 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 786 คน มีห้องเรียน จำนวน 19 ห้องเรียน มีครู จำนวน 56 คน และมีครูพี่เลี้ยง จำนวน 6 คน
       ปีการศึกษา 2554 (ค.ศ. 2011) บาทหลวงพัฒนะชัย  อินทิรถ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 1,170 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 385 คน มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 785 คน มีห้องเรียน จำนวน 20 ห้องเรียน มีครู จำนวน 55 คน และมีครูพี่เลี้ยง จำนวน 9 คน
       ปีการศึกษา 2555 (ค.ศ. 2012) บาทหลวงพัฒนะชัย อินทิรถ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ  ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 1,150 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 365 คน มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 785 คน มี ห้องเรียน จำนวน 21 ห้องเรียน มีครู จำนวน 53 คน และมีครูพี่เลี้ยง จำนวน 5 คน

       ปีการศึกษา 2556 (ค.ศ. 2013) บาทหลวงพัฒนะชัย  อินทิรถ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 1,078 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 318 คน มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 752 คน มีห้องเรียน จำนวน 20 ห้องเรียน มีครู จำนวน 51 คน และมีครูพี่เลี้ยง จำนวน 7 คน

       ปีการศึกษา 2557 (ค.ศ. 2014) บาทหลวงพัฒนะชัย  อินทิรถ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  มีนักเรียน จำนวน 1,012 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 287 คน มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 715 คน มีห้องเรียน จำนวน 20 ห้องเรียน มีครู จำนวน 49 คน และมีครูพี่เลี้ยง จำนวน 5 คน

       ปีการศึกษา 2558 (ค.ศ. 2015) บาทหลวงพัฒนะชัย  อินทิรถ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  มีนักเรียน จำนวน 996 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 274 คน ห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 694  คน มีห้องเรียน จำนวน 19 ห้องเรียน มีครู จำนวน 46 คน และมีครูพี่เลี้ยง จำนวน 4 คน

       ปีการศึกษา 2559 (ค.ศ. 2016)  บาทหลวงพัฒนะชัย  อินทิรถ  ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและซิสเตอร์อุไร  คงทอง เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารประกอบด้วย อาคารอเนกประสงค์ อาคารบ้านพักซิสเตอร์ ทั้งนี้สังฆมณฑลนครราชสีมาได้อนุมัติงบประมาณ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ประจำปีงบประมาณ  2559 (หนังสือลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2559) โดยการก่อสร้างแล้วเสร็จ มีพิธีเสกและเปิดหอประชุมเซนต์โยเซฟในวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2560 โดยมีพระสังฆราชยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ เป็นประธานร่วมกับนายสง่า  ศรีราม  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
อาคารบ้านพักซิสเตอร์ อาคารฟรังซิส อาคารโบสถ์และอาคารบ้านพักพระสงฆ์มีพิธีเสกและเปิด มีนักเรียน จำนวน 961 คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 279 คน มีห้องเรียน จำนวน 10 ห้องเรียนและมีนักเรียนระดับประถมศึกษา  จำนวน 682  คน มีห้องเรียน จำนวน 19 ห้องเรียน มีครู จำนวน 45  คน

        ปีการศึกษา 2560 (ค.ศ. 2017)  บาทหลวงพัฒนะชัย  อินทิรถ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและซิสเตอร์เพ็ญจันทร์  มีนะจรัส เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 1,005 คน  นักเรียนระดับบริบาล จำนวน 34 คน มีเด็กระดับปฐมวัย จำนวน 269 คน  มีห้องเรียน จำนวน 10 ห้องเรียน และมีนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 702 คน มีห้องเรียน จำนวน 20 ห้องเรียน มีครู จำนวน 49  คน  การดำเนินการก่อสร้างวัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จซึ่งเป็นสถานประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ แหล่งเรียนรู้ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมแบบเขมรผสมผสานกับศิลปะแบบโกธิก และมีพิธีเปิดเสกวัด โดยพระสังฆราชยอแซฟชูศักดิ์  สิริสุทธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน  2560

       ปีการศึกษา 2561 (ค.ศ. 2018) บาทหลวงพัฒนะชัย  อินทิรถ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและซิสเตอร์เพ็ญจันทร์    มีนะจรัส เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 1,005 คน นักเรียนระดับชั้นบริบาล จำนวน 27  คน เด็กระดับปฐมวัย จำนวน 267 คน มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียนและนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 702 คน ห้องเรียน  จำนวน 20 ห้องเรียน  และมีครู จำนวน 49 คน
ปัจจุบันโรงเรียนมารีพิทักษ์ บาทหลวง ดร.เอกชัย ชิณโคตร ดำรงตำแหน่งผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ซิสเตอร์บุญสม  ปิ่นสุวรรณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและซิสเตอร์เพ็ญจันทร์  มีนะจรัส เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียน จำนวน 931 คน นักเรียนระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 264 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 677 คน และมีครู จำนวน 54 คน
มีการจัดหลักสูตรโรงเรียนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและเพิ่มเติมในส่วนของภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาไทย/ทักษะการคิดสู่ศตวรรษที่ 21/หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง/ความเป็นสากลเข้าไปในหลักสูตรของโรงเรียน มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารของโรงเรียน จากเดิม 6 ฝ่าย เป็น 7 ฝ่าย ดังนี้
ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายธุรการ – การงาน ฝ่ายอภิบาลและแพร่ธรรม ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากร และฝ่ายปฐมวัย
มีการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรมตามวิถีคริสต์ (อัตลักษณ์ 4 รักเมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู อยู่อย่างพอเพียง) มีจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนมารีย์นางรอง มีการพัฒนาระบบ ICT ในการบริหารจัดการ มีการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่างอาคารเรียนด้วยระบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic Network) ติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในโรงเรียน ปรับปรุงระบบร้านค้าสหกรณ์ด้วยบัตรนักเรียน และมีการพัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนมารีพิทักษ์ ระยะ 3 ปี ปีการศึกษา 2562 – 2564 แทนแผนพัฒนาการจัดการศึกษาฉบับที่ผ่านมาซึ่งได้สิ้นสุดลง โดยมีวิสัยทัศน์ “โรงเรียนมารีพิทักษ์เป็นโรงเรียนคุณธรรม จัดการศึกษามีคุณภาพและมีความสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”